จำนวนผู้เยี่ยมชม

วัตถุประสงค์ของบล็อกนี้.....

จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การฝึกสหกิจศึกษา ของ นิสิต เอกเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาคต้น ปีการศึกษา 2553

ปรัชญาของหลักสูตรเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาพึงพัฒนาการศึกษา บูรณาการทรัพยากรการเรียนรู้เทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษาด้วยวิธีระบบ และเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาให้สอดคล้องกับสังคมแห่งการเรียนรู้ ควบคู่คุณธรรม

วิสัยทัศน์ของ เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ต้องรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆในสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นผู้รู้จริงและปฎิบัติงานได้ในระดับสากล โดยมีความรู้ความสามารถเฉพาะทางในการออกแบบและวางแผนเกี่ยวกับการนำไปประยุกต์ การสร้าง การใช้งาน การบำรุงรักษา สามารถนำผลการวิจัยเพื่อพัฒนาตลอดจนแก้ปัญหาด้านการศึกษาด้วยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาได้

นิสิตรับรางวัลประกวดสื่อ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บรรยายกาศการจัดโครงการปฐมนิเทศการฝึกสหกิจศึกษา


ห้อง Chat Room สหกิจศึกษา

ประกาศ

ตามที่มีนิสิตโทรมาสอบถามอาจารย์หลายครั้งเกี่ยวกับการทำโปรเจค หรือ โครงการ หรือวิจัยก่อให้เกิดความสับสนเป็นอย่างมาก ขออนุญาตประกาศเรื่องนี้เป็นครั้งสุดท้ายดังนี้
1. โครงการที่สามารถจะจัดทำได้มีดังนี้
1.1 งานประจำซึ่งทำเป็นเล่มลักษณะรุ่นพี่ปีที่ผ่านมา โดยยึดถือตามแบบฟอร์มที่อาจารย์มานิตย์ บรรยายดังที่อาจารย์อัพเดทในบล็อกให้ดู
1.2 โครงการหรืองานวิจัย ซึ่งทำตามลักษณะของงานวิจัย 0503405 ที่ได้ทำมาแล้ว
1.3 สถิติหรือคู่มือ
2. ในเรื่องการทำโปรเจคนี้ในนิสิตแต่ละสายโทรหรือปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาที่ได้แต่งตั้งแล้วนั้นเท่านั้น การตัดสินของอาจารย์ที่ปรึกษาตามที่ได้แต่งตั้งถือเป็นที่สิ้นสุด

จึงประกาศมาให้ทราบ

หมายเหตุ ทำไมแบบฟอร์มสไลด์ต่างๆก็อัพโหลดให้หมดแล้วในบล็อกนี้ ปฐมนิเทศก็ปฐมนิเทศให้แล้วเวลาถามว่าไม่เข้าใจตรงไหนก็ไม่เห็นมีใครยกมือถาม จึงถือว่าเข้าใจดี

ถ้ากระบวนการฝึกสหกิจศึกษาครบตามกระบวนการแล้วนิสิตท่านใดไม่สามารถส่งเอกสารได้ครบและครบถ้วนตามการปฐมนิเทศ ถือว่านิสิตไม่มีความรับผิดชอบและถือว่าไม่ผ่านการฝึกสหกิจศึกษา

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปฐมบทแห่งการฝึกสหกิจ


สวัสดีคร้บ นิสิตที่รัก อาจารย์มาติดตามการเตรียมตัวออกฝึกประสบการณ์สหกิจศึกษานะคร้บ อาจารย์จะเข้ามาพูดคุยกับพวกเราผ่าน Blog นี้ โดยจะนำเสนอข้อคิดเห็น ประเด็น และการตอบคำถามสำหรับนิสิตทุกท่าน หากมีอะไรสงสัย โปรดแสดงความคิดเห็นหรือ/ฝากคำถามถึงอาจารย์ได้
ความคิดเห็นของอาจารย์ ในการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพนั้นถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญมากเลย เพราะนิสิตจะได้นำความรู้ความสามารถที่เคยร่ำเรียนมาออกมาแก้ไขปัญหาที่เผชิญจากการฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงาน คล้ายกับว่าเป็นการเตรียมให้มีความพร้อมและได้ทดลองปฏิบัติจริงเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา
ในช่วงนี้นิสิตจะได้เรียนรู้เรื่องการนำวิธีการแก้ปัญหามาใช้ พร้อมกับเรียนรู้กับพี่ๆ ในหน่วยงานในการแก้ปัญหา ซึ่งจากการร่วมมือกันแก้ปัญหานี้จะเกิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ จากการปฏิบัติ จากการเรียนรู้จากพี่ๆ ซึ่งเป็นการสร้างความรู้ใหม่ บางอย่างอาจหาไม่ได้ในตำราเรียนเลยทีเดียว

ในการรับมือกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพนั้น สิ่งแรกๆเลยคือการเตรียมความพร้อมของนิสิตเอง ทั้งภายในและภายนอก ภายในหมายถึงสภาพจิตใจที่จะต้องมีความพร้อมในการเรียนรู้ และปรับตัว ส่วนสภาพภายนอก คือร่างกาย ผู้ไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำต้องมีร่างกายที่พร้อม คำว่าพร้อมในที่นี้คือ มีสุขภาพที่แข็งแรง พอที่จะรับมือกับการทำงานในหน่วยงานซึ่งมีหนักเบา ตามสภาพงานของหน่วยงานนั้นๆ

ปัญหาที่อาจารย์พบส่วนมาก จะเป็นปัญหาจากภายในซะมากกว่า หลายคนทีเดียวไม่ได้เตรียมใจให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง เช่นการต้องที่จากบ้าน จากเพื่อน หรือจากสถาบันไปอยู่ในที่ไกลๆ การเปลี่ยนแปลงสภาพสิ่งแวดล้อมที่กล่าวมา หลายคนไม่เคยเจอ ประกอบกับการที่ต้องอยู่กับพี่ๆ คนแปลกหน้าในหน่วยงาน ซึ่งไม่คุ้นเคย ในระยะแยกๆ อาการที่เรียกว่า โรคคิดถึงบ้านจึงเกิดขึ้นบ่อยๆ พลอยทำให้จิตใจว้าวุ่น และไม่มีกระจิตกระใจทำงาน และพาลอาจส่งผลต่อร่างกายเอาก็ได้

ดังนั้้น นิสิตที่ออกฝึกประสบการณ์ จึงต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง มีความเชื่อว่า การฝึกงานหรือฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เป็นการเรียนรู้ เป็นสิ่งท้าทาย และเชื่อมั่นในตนเองว่า สามารถทำได้ เมื่อใจเข้มแข็งแรง อาจารย์เชื่อว่าปัญหาเรื่องอื่นๆ จะลดน้อยถอยลงไปเลยทีเดียว จริงๆแล้ว อาจารย์กำลังจะบอกว่า "จงเชื่อมั่นในตนเอง" จงมีความรู้สึกดีๆและเชื่อมั่นในตนเอง

ผลจากการวิจัยในต่างประเทศพบว่า จากการสำรวจความคิดเห็น คนส่วนใหญ่ ก้าวแรกสู่การพัฒนาตน พัฒนาผลงานของตนนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับงาน หรือสถานที่ทำงานเลย แต่อยู่ที่การพัฒนาความรู้สึกเกี่ยวกับตัวเองมากกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น